บทความน่าสนใจ

ทำความรู้จัก หลอดแอลอีดี เทคโนโลยีแสงสว่างแห่งอนาคต

ปัจจุบันทั้งหลอดตะเกียบและหลอดฟลูออเรสเซนต์ถือเป็นอุปกรณ์ให้แสงสว่างที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพระดับหนึ่ง ซึ่งในบทความที่แล้ว แผนกอนุรักษ์พลังงานได้เสนอบทความเรื่อง “หลอดผอมใหม่ T5: วิธีการประหยัดพลังงานและค่าไฟฟ้าที่ได้ผลจริง” แต่ขณะนี้เทคโนโลยีของหลอดฟลูออเรสเซนต์กำลังถูกท้าทายจากเทคโนโลยีของอุปกรณ์ให้แสงสว่างที่เรียกว่า ไดโอดเปล่งแสง (light emitting diode, LED) หรือหลอดแอลอีดี เพื่อให้ทันกับเทคโนยีที่เดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง วันนี้เราจึงอยากเสนอเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับหลอดแอลอีดี
หลอดแอลอีดี เป็นหลอดขนาดเล็กที่ถูกใช้งานอยู่ในอุปกรณ์และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์หลากหลายไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านอย่างรีโมททีวี เครื่องเสียง เครื่องเล่นดีวีดี วีซีดี ระบบไฟวิ่งตามเสียงเพลงในเครื่องเล่นซีดี เทป ไปจนถึงเครื่องมือไฮเทคต่างๆ หลอดแอลอีดีมีจุดเด่นเรื่องกินไฟน้อย มีอายุการใช้งานยาวนาน และทนทาน ทำให้บริษัทผู้ผลิตแอลอีดี และผู้ผลิตหลอดไฟหลายรายในปัจจุบันพยายามพัฒนาเทคโนโลยีนี้ออกมาแข่งขันกับ เทคโนโลยีหลอดไส้ และหลอดฟลูออเรสเซนต์ โดย ณ เวลานี้หลอดแอลอีดีได้พัฒนาประสิทธิภาพการให้แสงสว่างจนแซงหน้าหลอดไส้เรียบร้อยแล้ว และเป้าหมายต่อไปของการพัฒนาหลอดแอลอีดีคือ การพัฒนาประสิทธิภาพให้เหนือกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้ได้นั่นเอง
การพัฒนาเทคโนโลยีหลอดแอลอีดีนั้น เริ่มต้นอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1955 เมื่อรูบิน บราวน์สไตน์ (Rubin Braunstein)นักวิทยาศาสตร์ของบริษัทอาร์ซีเอ (RCA, Radio Corporation of America) ได้รายงานเรื่องการเปล่งรังสีอินฟราเรดออกมาของสารแกลเลียมอาร์เซไนด์ (GaAs) และโลหะกึ่งตัวนำชนิดอื่นๆ แต่เมื่อหลายสิบปีก่อนก็มีการรายงานถึงปรากฏการณ์การเปล่งแสงลักษณะนี้เช่นกัน โดยนักวิทยาศาสตร์จากบริษัท มาร์โคนีแล็บส์ (Marconi Labs) ชื่อ เฮนรี ราวนด์ (Henry Round) พบปรากฏการณ์การเปล่งแสงออกจากสารกึ่งตัวนำตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907 แล้ว แต่เนื่องจากเขาไม่สนใจสิ่งที่พบจึงไม่มีการค้นคว้าวิจัยต่อแต่อย่างใด         
นอกจากนี้ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1920 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ชื่อ โอเล็ก วลาดิมิโรวิช โลเซฟ (Oleg Vladimirovich Losev) ก็ประดิษฐ์แอลอีดีชิ้นแรกออกมาสำเร็จโดยไม่เคยทราบเรื่องการค้นพบ              ของเฮนรี ราวด์ มาก่อน ซึ่งผลงานของนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียท่านนี้ได้ลงตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์หลายฉบับทั้งในประเทศรัสเซีย เยอรมนี และอังกฤษ แต่กลับไม่มีใครสนใจผลงานของเขาเลย
         กระทั่งรูบิน บราวน์สไตน์ รายงานสิ่งที่เขาพบออกมา บรรดานักวิทยาศาสตร์จึงเริ่มหันมาค้นคว้าวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง จากนั้นในปี ค.ศ. 1962 นิก โฮลอนแยค (Nick Holonyak) ก็ประสบความสำเร็จสามารถประดิษฐ์แอลอีดีให้แสงสีแดงออกมาได้ ต่อมาจึงเริ่มมีการพัฒนาหลอดแอลอีดีให้แสงสีอื่นทยอยตามกันออกมา 
         ความก้าวหน้าครั้งสำคัญ ของแอลอีดีเกิดขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1993 เมื่อชูจิ นากามูระ (Shuji Nakamura) นักวิจัยชาวญี่ปุ่นของบริษัทนิชิอะ (Nichia) สามารถพัฒนาแอลอีดีให้แสงสีน้ำเงินออกมาได้ ความสำเร็จครั้งนี้จุดประกายความหวังของการพัฒนาแอลอีดีให้แสงสีขาวให้เข้า ใกล้ความจริงขึ้นอีก เนื่องจากแสงสีน้ำเงินเป็นหนึ่งในสามแม่สีแสงหลักอันได้แก่ แสงสีน้ำเงิน แสงสีแดง และแสงสีเขียว โดยเมื่อรวมแม่สีแสงหลัก สีเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมจะได้ผลลัพธ์เป็นแสงสีขาวที่ต้องการ 
         จากปี ค.ศ. 1993 จนถึงปัจจุบัน(ค.ศ. 2010หลอดแอลอีดีแสงสีขาวเริ่มมีใช้ในอุปกรณ์ส่องสว่างแบบต่างๆ เช่น กระบอกไฟฉาย โคมไฟถนน รวมทั้งระบบแสงสว่างภายในอาคาร แสดงให้เห็นว่าหลอดแอลอีดีมีประสิทธิภาพและราคาที่ผู้ผลิตยอมรับได้ในระดับหนึ่ง
โครงสร้างของแอลอีดี

         ภายในหลอดแอลอีดีประกอบ ด้วยแผ่นชิปสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็นและชนิดพีติดอยู่ในถ้วยสะท้อนแสง มีเส้นลวดทองคำขนาดเล็กมากเชื่อมระหว่างสารกึ่งตัวนำและขาแอลอีดี (ดังภาพประกอบ) ชิ้นส่วนทั้งหมดถูกบรรจุในพลาสติกใสทรงโดม ซึ่งทำหน้าที่เป็นเลนส์รวมแสง โดยลักษณะลำแสงที่ออกจากหลอดแอลอีดีขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น รูปร่างของถ้วยสะท้อนแสง ขนาดของชิปสารกึ่งตัวนำ รูปร่างเลนส์ ระยะห่างระหว่างตัวชิปกับผิวพลาสติกที่หุ้มอยู่ เป็นต้น
การทำงานของไดโอด

         ไดโอดเป็นอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำ ชนิดได้แก่ สารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น (N-type semiconductor) ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำที่ถูกดัดแปลงให้มีอิเล็กตรอนอิสระมากกว่าสารกึ่งตัวนำ ปกติ กับสารกึ่งตัวนำชนิดพี (P-type semiconductor) ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำดัดแปลงให้มีโฮล (hole) ซึ่งมีสภาพเป็นประจุบวก เมื่อนำสารกึ่งตัวนำดัดแปลงทั้งสองชนิดมาประกบติดกัน ในสภาพที่ไม่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่สารกึ่งตัวนำ อิเล็กตรอนส่วนหนึ่งของสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็นและโฮลของสารกึ่งตัวนำชนิดพีที่ รอยต่อของสารทั้งสองจะเคลื่อนที่เข้าหากัน ทำให้สารกึ่งตัวนำทั้งสองชนิดเกิดพื้นที่กลางที่ไม่มีประจุไฟฟ้าขึ้นโดยรอบ บริเวณรอยต่อ  

         เมื่อต่อไฟฟ้ากระแสตรง เข้าที่ขาไดโอด โดยต่อขั้วลบกับสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น และต่อขั้วบวกเข้ากับสารกึ่งตัวนำชนิดพี อิเล็กตรอนอิสระในสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น จะถูกผลักให้เคลื่อนที่ออกจากขั้วลบ ไปในสารกึ่งตัวนำชนิดพี ในทางตรงข้ามโฮลของสารกึ่งตัวนำชนิดพีก็จะถูกผลักให้ออกจากขั้วบวกไปในสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็นเช่นกัน หากผ่านกระแสไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์สูงเพียงพอ จะทำให้พื้นที่กลางบริเวณที่ไม่มีประจุไฟฟ้าสลายไป ทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านไดโอดได้

ไฟแต่งห้องนอน
ปัจจุบันแสงไฟหลากสีเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆการตกแต่งห้องให้สวยงามด้วยไฟชนิดต่างๆเช่น ไฟ ริบบิ้น ไฟสายยาง ไฟ Striplight การตกแต่งมีทั้งแบบ สลัวๆ หรือแบบกระพริบ
ตัวอย่างการแต่งไฟในห้องนอน


ข้อดีของหลอดแอลอีดี
• ตัวหลอดทนทานต่อแรงกระแทกต่างๆ เพราะชิปเปล่งแสงบรรจุอยู่ในพลาสติกใสซึ่งแข็งและเหนียว
• อายุการใช้งานหลอดแอลอีดีนาน 80,000 - 100,000 ชั่วโมง มากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์และหลอดไส้
• หลอดแอลอีดีกินไฟน้อย
• ตัวหลอดมีขนาดเล็กจึงสามารถประยุกต์หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้หลากหลาย
• หลอดแอลอีดีเกิดความร้อนเพียงเล็กน้อยในขณะทำงาน จึงไม่อันตรายเมื่อสัมผัสหลอด
• หลอดแอลอีดีเหมาะกับการใช้งานที่ต้องมีการปิด-เปิดไฟบ่อยครั้ง โดยไม่มีผลต่ออายุการใช้งาน ต่างจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หากเปิด-ปิดบ่อยครั้งจะเสียง่าย
• หลอดแอลอีดีไม่ใช้สารปรอทเหมือนหลอดฟลูออเรสเซนต์
ข้อเสียของหลอดแอลอีดี
• หลอดแอลอีดีแสงสีขาวยังมีราคาค่อนข้างแพง เช่นหลอดแอลอีดี ติดตั้งทดแทนหลอด ฟลูออเรสเซนต์ T8ราคาสูงถึงประมาณ 1,500 บาท ซึ่งราคาแพงกว่าชุดหลอด T8 เดิม หลายเท่า      

ปัจจุบันหลอดแอลอีดียังมีประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างน้อยกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์
         ปัจจุบันเทคโนโลยีหลอดแอลอีดีให้แสงสีขาวจะยังมีราคาค่อนข้างแพง แต่ประสิทธิภาพการให้แสงสว่างก็เกือบจะเทียบเท่าเทคโนโลยีหลอดฟลูออเรสเซนต์ แต่อีกไม่นานหลอดแอลอีดีให้แสงสีขาวน่าจะถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ ขณะที่ราคาก็จะถูกลง ทำให้มีความคุ้มค่าที่จะเปลี่ยนมาใช้หลอดแอลอีดีมากขึ้น เมื่อถึงวันนั้นค่าไฟฟ้าจากอุปกรณ์ให้แสงสว่างของบ้าน และที่ทำงานจะลดลงได้อย่างแน่นอน


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

มาทำความรู้จักค่า K ของแสงกันเถอะ

"ค่าของไฟxenon คืออะไร"
   หลายๆท่านอาจจะรู้จักหลอดไฟส่องสว่างอย่าง HID (หลอดซีนอน) ที่ผู้ใช้รถทุกวันนี้นิยมนำมาติดตั้งกันอยู่แล้ว แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งอาจยังมีหลายๆท่านอาจจะ มีข้อสงสัยหรือเข้าใจผิดกันอยู่บ้าง นั้นก็คือ บางท่านก็เลือกใช้ 4300k 6000k หรือ8000k ตามความชอบ ซึ่งครั้งนี้จะนำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ เจ้าค่าที่ว่านี้มาฝากกันครับ ...
   ค่า Kแสง คืออะไรค่าKแสงที่เราคุ้นเคยกันนั้น อธิบายแบบง่ายๆ ก็คือ  ค่าอุณหภูมิของแสงครับ ซึ่งอุณหภูมิของแสง ที่เปลี่ยนแปลง ก็จะมีผลต่อสีที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นเองครับ ซึ่งไม่ใช่ค่าความสว่างของไฟอย่างที่หลายท่านเข้าใจผิดกัน (K=kelvin,เคลวิน เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิอย่างหนึ่ง) หากอุณหภูมิของแสง ยิ่งสูงมากขึ้น สีของแสงก็จะเปลี่ยนไป เช่นขาวขึ้น เช่น 8000K ถ้ามากขึ้นไปอีก อย่าง10000/12,000/15,000 ก็จะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นฟ้า เป็นสีม่วง เป็นชมพูตามลำดับ..



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น